เกิดเป็นชายรูปหล่อท้อใจนัก หญิงหลงรักมากมายหลายหนักหนา บ้างก็หึงตบตีกันไปมา ผมแทบบ้าเพราะความหล่อของผมเอง

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ


การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
1.เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
2.มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
3.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
4.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
5.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข
                                      
แผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ที่  1 ศาสนา  ศีลธรรม จริยธรรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้     สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม       ช่วงชั้นที่  3
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1      หน่วยการเรียนรู้ที่  1   พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
จำนวน 3 ชั่วโมง วิชา สังคมศึกษา    ผู้สอน นายเรืองฤทธิ์  กล่องดวงจิตร


*****************************************************************
1.  สาระการเรียน
การสังคายนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติสถาบันหลักของสังคมไทยและสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางครอบคลุมสังคมไทย
2.  มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน  ส 1.1  เข้าใจประวัติความสำคัญ  หลักธรรมของพระพุทธศาสนา  หรือศาสนาที่ตนนับถือและสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
3.  มาตรฐานช่วงชั้น
ส. 1.1 ข้อ 1 รู้และเข้าใจประวัติความเป็นมา ความหมาย  องค์ประกอบ  ความสำคัญของศาสนา  คัมภีร์ทางศาสนาที่ตนนับถือ  และวิเคราะห์  พระจริยาวัตรของศาสดา  สาวกที่สำคัญของศาสนาต่างๆ
4.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ความเข้าใจ  ตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
5.  จุดประสงค์การเรียนรู้
5.1  วิเคราะห์พระพุทธศาสนาในประเทศไทยด้าน    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาการสังคายนาพระธรรมวินัย ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยได้
       5.2  อธิบายพระพุทธศาสนาในประเทศไทยด้าน  การสังคายนาพระธรรมวินัย ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยได้
       5.3  เป็นผู้มีความรับผิดชอบในการทำงานได้
       5.4  สามารถทำงานกลุ่มร่วมกับบุคคลอื่นได้
6. วิเคราะห์พฤติกรรมตามจุดประสงค์การเรียนรู้
6.1  ด้านความรู้        ได้แก่  จุดประสงค์การเรียนรู้  ข้อ  5.1
6.2  ด้านทักษะ   ได้แก่   จุดประสงค์การเรียนรู้  ข้อ  5.2
6.3  ด้านคุณลักษณะ  ได้แก่  จุดประสงค์การเรียนรู้ข้อ  5.3  -  5.4
7.  กระบวนการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี
7.1  ไตรสิกขา  (  ศีล  สมาธิ  ปัญญา )
7.2   กระบวนการคิดวิเคราะห์
7.3   กระบวนการกลุ่ม
7.4   กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
8.  การบูรณาการ
8.1  การบูรณาการวิชาเศรษฐศาสตร์  เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
8.2  การบูรณาการวิชาศิลปะศึกษา  การตกแต่งชิ้นงาน
8.3  การบูรณาการวิชาคอมพิวเตอร์ 
9.  กิจกรรมการเรียนรู้
      - ชั่วโมงที่  1    เรื่อง       การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
      - ชั่วโมงที่  2   เรื่อง   การสังคายนาพระธรรมวินัย
      - ชั่วโมงที่  3   เรื่อง   ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
10.  สื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
10.1  สื่อเอกสาร
         10.1.1  ใบความรู้ที่  1 และใบงานที่  1  เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
         10.1.2 ใบความรู้ที่ 2  และใบงานที่  2  เรื่อง การสังคายนาพระธรรมวินัย
         10.1.3 ใบความรู้ที่  3  และใบงานที่  3  เรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
         10.1.4 รูปภาพการทำบุญตักบาตรของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
     10.2   สื่อเทคโนโลยี
         10.2.1.  Internet   คอมพิวเตอร์ 
  10.2.2.  สีเมจิกไม้
11.  แหล่งเรียนรู้
      11.1   ห้องจริยธรรมกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
       11.2   ห้องสมุดโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
       11.3   ห้องสารสนเทศโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
       11.4   ห้องสมุดจังหวัดเชียงราย
12.  การวัดผลประเมินผล
     12.1  เกณฑ์ระดับคุณภาพด้านความรู้และทักษะ   การนำเสนอผลงานในชั้นเรียนรายกลุ่ม
          เกณฑ์การประเมินผล
              1.   ความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหา
              2.   ความครอบคลุมของเนื้อหา         
              3.   ความชัดเจนในการพูดและน้ำเสียง                   
              4.   ผู้ฟังเกิดจินตนาการคล้อยตาม                             
              5.   การรักษาเวลาในการนำเสนอ                      
·       เครื่องมือวัดและประเมินผล  แบบประเมินผลงานนำเสนอผลงานในชั้นเรียนรายกลุ่ม
·   วิธีการวัดและประเมินผล   สังเกตการนำเสนอผลงาน
·    เกณฑ์การให้คะแนน
      1.  นำเสนอผลงานได้ครอบคลุม  เนื้อหามีความถูกต้อง  อุปกรณ์การนำเสนอมีความเหมาะสมเสียงดังฟังได้ชัดเจน ตรงเวลาตามที่กำหนด   ได้  4  คะแนน
      2.  นำเสนอผลงานได้ครอบคลุม  เนื้อหามีความถูกต้อง   อุปกรณ์การนำเสนอมีความเหมาะสมเสียงดังฟังชัดเจน  ใช้เวลาน้อยหรือมากเกินไปได้  3  คะแนน
      3.   นำเสนอผลงานได้ครอบคลุมเนื้อหามีความถูกต้อง อุปกรณ์การนำเสนอไม่มี  หรือ ไม่เหมาะสม ฟังได้ชัดเจนตรงตามเวลาที่กำหนดได้  2  คะแนน
      4.  นำเสนอผลงานได้ครอบคลุม เนื้อหามีความถูกต้อง อุปกรณ์การนำเสนอมี      ความเหมาะสม พูดเบาไม่ชัดเจน ตรงตามเวลาที่กำหนด    ได้  1  คะแนน
      5.  นำเสนอผลงานได้ครอบคลุม   เนื้อหาไม่มีความถูกต้อง    อุปกรณ์การนำเสนอไม่มีหรือไม่เหมาะสม พูดได้เสียงดังฟังได้ชัดเจนใช้เวลาน้อยหรือมากเกินไป ได้  0  คะแนน
·  เกณฑ์การผ่าน  แต่ละกลุ่มต้องได้คะแนนตั้งแต่  2  ขึ้นไปจึงถือว่าการนำเสนอผลงานในชั้นเรียนรายกลุ่มบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
   12.2  เกณฑ์ระดับคุณภาพด้านคุณลักษณะ    ความรับผิดชอบในการทำงาน
         เกณฑ์การประเมิน
          1.  ทำงานอย่างมีขั้นตอน
          2.  เอาใจใส่ในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
          3.  ส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
          4.  โต้ตอบ  ซักถามข้อสงสัย
          5.  ตรงต่อเวลา
·   เครื่องมือวัดและประเมินผล   แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
·   วิธีการวัดและประเมินผล   สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล
·    เกณฑ์การให้คะแนน
     1.  ทำงานอย่างมีขั้นตอน  เอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมาย  ส่งงานครบและตรงเวลาซักถามและตอบคำถามของเพื่อนและครูเข้าห้องเรียนตรงเวลา   ได้  4  คะแนน
     2.  ทำงานอย่างมีขั้นตอน เอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานครบและตรงเวลาไม่ซักถามและตอบคำถามของเพื่อนและครูเข้าห้องเรียนตรงเวลา ได้  3  คะแน
     3.  ทำงานอย่างมีขั้นตอน เอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานครบแต่ไม่ตรงเวลาซักถามและตอบคำถามของเพื่อนและครูเข้าห้องเรียนสาย ได้  2  คะแนน
     4.  ทำงานอย่างมีขั้นตอน เอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานครบแต่ไม่ตรงเวลาไม่ซักถามและตอบคำถามของเพื่อนและครูเข้าห้องเรียนสาย   ได้  1  คะแนน
     5.  ทำงานอย่างมีขั้นตอน ขาดการเอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ส่งงาน ไม่ซักถามและตอบคำถามของเพื่อนและครู เข้าห้องเรียนสาย ได้  0  คะแนน
·   เกณฑ์การผ่าน  นักเรียนแต่ละคนต้องได้คะแนนตั้งแต่  2  ขึ้นไปจึงถือว่ามีความรับผิดชอบในการทำงานบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
         12.3  เกณฑ์ระดับคุณภาพด้านคุณลักษณะ  การทำงานกลุ่ม
                  เกณฑ์การประเมิน
                        1.  ความร่วมมือในการทำงาน
                        2.  กำหนดขั้นตอนในการทำงาน
                        3.  การแบ่งหน้าที่ในการทำงาน
·       เครื่องมือวัดและประเมินผล   แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
·       วิธีการวัดและประเมินผล  สังเกตการณ์ทำงานของนักเรียนรายกลุ่ม
·       เกณฑ์การให้คะแนน
                 1. ทุกคนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ช่วยเหลืองานนอกเหนือจาก หน้าที่ของตนมีการประสานงานกลุ่มเป็นอย่างดี มีการกำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจน เห็นภาพตลอดแนว มีความเป็นไปได้ในความสำเร็จของงานที่สมบูรณ์  ทุกคนได้รับหน้าที่ที่มอบหมายตามความสามารถที่เหมาะสมจนทำให้งานสมบูรณ์ได้  3  คะแนน
                2. ทุกคนรับผิดชอบงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ยังขาดความช่วยเหลือผู้อื่นการประสานงานยังบกพร่องกำหนดขั้นตอนชัดเจน แต่บางขั้นตอนอาจทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ทุกคนได้ รับหน้าที่มอบหมายแต่ทำงานไม่เต็มความสามารถจนทำให้งานออกมาไม่สมบูรณ์  ได้  2  คะแนน
                3.  สมาชิกบางคนขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ขาดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การประสานงานบกพร่องขั้นตอนการทำงานไม่ละเอียดชัดเจนทำให้เกิดความขัดข้องในการทำงาน  ได้  1  คะแนน
·  เกณฑ์การผ่าน   แต่ละกลุ่มต้องได้คะแนน  2  ขึ้นไปจึงถือว่าการทำงานกลุ่มบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
12.4 เกณฑ์ระดับคุณภาพด้านความรู้  แบบทดสอบหลังเรียน และใบงานที่  1 - ใบงานที่ 4 
· เกณฑ์การประเมิน  ความถูกต้อง
· เครื่องมือวัดและประเมินผล 
         1.  แบบทดสอบหลังเรียนจำนวน  10  ข้อ  
         2.  ใบงานที่ 1 -  ใบงานที่ 4
· วิธีการวัดและประเมินผล การทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ข้อและการทำใบงาน
·  เกณฑ์การให้คะแนน
                1.  แบบทดสอบหลังเรียน  ตอบถูก ได้  1  คะแนน  ตอบผิดไม่ได้คะแนน
· เกณฑ์การผ่าน
                1.  แต่ละคนต้องได้คะแนนทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า  5  คะแนน  จึงจะถือว่าบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
       12.5 เกณฑ์ระดับคุณภาพด้านความรู้   การวิเคราะห์งาน   ใบงานที่  1  -  ใบงานที่  3
·  เกณฑ์ประเมิน        
1.  ความถูกต้องของเนื้อหา
2.  ความสำคัญของเนื้อหา
3.  การยกตัวอย่างประกอบ
·   เครื่องมือวัดและประเมินผล    ใบงานที่  1  -  ใบงานที่  3
·   เกณฑ์การให้คะแนน
1. วิเคราะห์ความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  การสังคายนาพระธรรมวินัยความ สำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยได้ถูกต้องครบถ้วน และมีการนำเสนอรายละเอียดพร้อมยก ตัวอย่างเพิ่มเติม ได้  4   คะแนน
    2. วิเคราะห์ความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  การสังคายนาพระธรรมวินัยความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยได้ถูกต้องครบถ้วนแต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมได้ 3   คะแนน
    3. วิเคราะห์ความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  การสังคายนาพระธรรมวินัยความ สำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยได้ถูกต้องเพียงบางส่วนได้   2  คะแนน
    4. วิเคราะห์ความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  การสังคายนาพระธรรมวินัยความ สำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้องได้  1  คะแนน
13.  กิจกรรมเสนอแนะ
       พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยเป็นสถาบันหลักของสังคมไทย เป็นสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางสำหรับเยาวชนของไทยควรได้รับการปลูกฝังได้รับรู้ ปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้ จริงส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาให้มากขึ้น เช่น การเข้าวัดทุกวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา 
15.  บันทึกหลังสอนหน่วยการเรียนรู้ที่  1  พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้  สรุปได้ดังนี้   
จำนวนนักเรียนที่สอนทั้งหมด  81  คนแต่เฝ้าสังเกตพฤติกรรมเฉพาะกลุ่มคือจำนวนนักเรียน  40  คนเพื่อสะดวกต่อการประเมินผลและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
จำนวนนักเรียน 35 คนคิดเป็นร้อยละ  87.5 มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ประเมินที่ตามที่ตั้งไว้
มีนักเรียนจำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 12.5 มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่ตั้งไว้
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะ  สรุปได้ดังนี้    จำนวนนักเรียน  40  คน
มีนักเรียนจำนวน 38 คนคิดเป็นร้อยละ  95  มีทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มอยู่ในระดับ  ดีมาก
มีนักเรียนจำนวน   2  คนคิดเป็นร้อยละ   5  มีทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มอยู่ในระดับ  ดี
ผลการเรียนรู้ด้านคุณลักษณะ คุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์ จำนวนนักเรียน 40  คน
มีนักเรียนจำนวน  36  คน  คิดเป็นร้อยละ  90  มีวินัย  ความรับผิดชอบ  ระดับ  ดีมาก
มีนักเรียนจำนวน   4   คน  คิดเป็นร้อยละ   10  มีวินัย  ความรับผิดชอบ  ระดับ  ดี
ข้อสังเกต
        จากการสังเกตนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน  5  คน  พบว่านักเรียนไม่สนใจที่จะศึกษาใบความรู้อย่างละเอียดและในการทำแบบทดสอบขาดความตั้งใจที่จะทำ
แนวทางแก้ไข
        ครูให้นักเรียน 5 คน ที่มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินด้านความรู้ ศึกษาใบความรู้ใหม่แล้วครูอธิบายเพิ่มเติมเนื้อหาความรู้ที่นักเรียนไม่เข้าใจ ดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างใกล้ชิดคอยสอบถามและให้นักเรียนฝึกการอ่านของตนเองให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  จนสามารถผ่านเกณฑ์ประเมิน
ผลการพัฒนา
        นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น  สามารถทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่ครูกำหนด
ครูให้คำแนะนำในเรื่องการเรียนให้นักเรียนฝึกทำสมาธิในขณะที่นักเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น