เกิดเป็นชายรูปหล่อท้อใจนัก หญิงหลงรักมากมายหลายหนักหนา บ้างก็หึงตบตีกันไปมา ผมแทบบ้าเพราะความหล่อของผมเอง

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
เมื่อได้ทำงานส่งอาจารย์แล้วรู้สึกมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเรื่องที่เราได้หาเพิ่มในเรื่องนั้นและรู้สึกว่าอาจารย์ได้นำความสะดวกสบายมาให้กับนักศึกษา
2.นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้มีความรู้เรื่อง การทำบล็อก  การทำสไลด์โชว์  การลิงค์การนำเสนอไปยังเว็บไซด์อื่นๆ
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
มีความสะดวกมากเลยครับ เราสามารถเปิดดูงานได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเสียเวลาขับรถหรือเดินมาเอางานการทำบล็อกนี้สามารถนั่งทำที่หอก็ได้
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
มากที่สุดครับ

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
        
1. Classroom Management      
การบริหารจัดการในชั้นเรียนการ(ที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล  ครูต้องรู้ว่านักเรียนที่สอนอยู่ในวัยใด วัยของเขาสนใจใฝ่รู้อะไร หากครูออกแบบการจัดการเรียนได้สอดคล้องกับแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน และสอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจในการเรียน
2. Happiness Classroom  
การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Education
การเรียนรู้ตลอดชีวิต  หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบโดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้
4. formal Education 
การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน
5. Non-formal education
การศึกษานอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กการเป็นผู้นำ การแก้ปัญหาร่วมกัน การสร้างความเชื่อมั่น ความรับผิดชอบและความมีวินัย การศึกษานอกระบบยุคใหม่จึงเน้นการเรียนรู้และสมรรถนะ
6. E-learning    
การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซเรย์ หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ
7. Graded
การเรียนระดับชั้น       
8. Policy education
นโยบายการศึกษา
9. Vision
วิสัยทัศน์ คือ ขอบเขตการมองเห็นด้านความคิด
10. Mission
พันธ์กิจ มีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals
เป้าหมาย คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
12. Objective
หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13.backward design
เป็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. effectiveness
คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้อง
15.efficiency
คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิผล
16.Economy เศรษฐกิจ 
คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิตการจำหน่ายและการบริโภคซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง จากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้
17. Equity
ความเสมอภาพ
18. Empowerment   
การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19.Engagement  
การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project
หมายงถึง โครงการคือกระบวนงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายกิจกรรมซึ่งมีลำดับก่อนหลังอย่างชัดเจน
21. Actives
แปลว่า ความอดทน
22. Ladership 
หรือความเป็นผู้นำ คือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23. Leaders 
การเขียน
24. Follows
เวลาทำ
25. Situations 
สถานการณ์ หมายถึง สิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย
26. Self awareness  
การรู้จักตน (Self awareness) คือ การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communicatio  
การสื่อสาร หมายถึง ขบวนการถ่ายทอดความรู้สึกคิดสู่กัน ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การส่งสัญญาณข่าวสารที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สู่กัน(EDILink)ขบวนการสื่อสารที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร(Sender/Transmitter) , ผู้รับข่าวสาร (Receiver) และ ตัวกลางผู้นำข่าวสารไปสู่ปลายทาง(Transmission Media) การสื่อสารดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของการสื่อสาร แบบจุดต่อจุด (จากผู้ส่งไปสู่ ผู้รับโดยตรง) หรือ แบบกระจาย (จากผู้ส่งไปสู่กลุ่มผู้รับ)
28.Assertiveness
ความกล้าแสดงออก (Assertiveness) หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์ เชิงบวก เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตน หากเขาไม่เห็นด้วย หรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตาม
29. Time management  
การบริหารเวลา      การบริหารคือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30.POSDCoRB
การบริหารงาน  Planning  หมายถึง  การวางแผน   
O – Organizing          หมายถึง      การจัดองค์การ
S – Staffing                หมายถึง      การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing              หมายถึง      การสั่งการ
Co – Coordinating       หมายถึง      ความร่วมมือ
R – Reporting             หมายถึง      การรายงาน 
B – Budgeting            หมายถึง      งบประมาณ
31. Formal  
การพูดอย่างเป็นทางการ  ได้แก่  การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตอง  เป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ  และเพื่อจุดมุ่งหมายต่างกัน  เป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการ  ต้องอาศัยความรู้  ความสามารถ  ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูด  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี  ภาษาต้องสุภาพ  เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
32. Informal Leaders 
ผู้นำแบบเป็นทางการ  หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหรือให้มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ
33. Environment
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization 
โลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้น  หมายถึง  สภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกัน จนเกิดแบบแผน และพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33. Competency  
เรียกว่าความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ
35. Individual Behavior  
พฤติกรรมของคนแต่ละคน ทัศนคติ  
37. Organization Behavior  
หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การ ได้แก่ ความสามารถ ความคาดหวัง
38. Team working 
การทำงานเป็นทีมเป็น วิธีที่ดีในการดึงขีดความสามารถของบุคคลมาใช้ ทีมที่มีสมรรถนะการ ทำงานสูงต้องมีความเชื่อถือไว้ใจซึ่งกัยและกันระหว่าสมาชิกในทีม
39. Six Thinking Hats 
หมวกหกใบหกสี แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาว
สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
 สีดำ สีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองใน
ทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
หมวกสีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า หมายถึงการควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ
40. Classroom Action Research 
การวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไป หรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ กับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
        >  การสอนแบบหมวก 6 ใบนั้นมันจะคลอบคลุม พฤติกรรมทุกด้านที่สามารถนำไปปฎิบัติตามได้โดยมีรายละเอียดดังนี้
สรุปหมวกคิดสีขาว
                การคิดแบบหมวกสีขาวเป็นระเบียบวิธีและแนวทางในการเสนอข้อมูล  นักคิดต้องพยายามเป็นกลางให้มากและไม่ควรมีอคติ  สีขาวชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง  ข้อมูลครอบคลุมได้ตั้งแต่ข้อเท็จจริงและตัวเลขที่ตรวจสอบได้  ไปจนถึงข้อมูลที่ไม่แน่นอน  เราจะใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิด  เพื่อเป็นความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น  และเราก็สามารถใช้หมวกสีขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน  เพื่อทำการประเมิน  เช่น  เสนอโครงการต่างๆของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่  ส่วนที่สำคัญของหมวกสีขาวคือ  การระบุถึงข้อมูลที่จำเป็นและขาดหายไปหมวกขาวจะบอกถึงปัญหาที่ควรจะยกขึ้นมาถามและแสดงวิธีการเพื่อให้ได้มาเพื่อข้อมูลทีจำเป็นและมุ่งไปสู่การเสาะหาและตีแผ่ข้อมูล
 สรุปหมวกคิดสีแดง
                การใช้หมวกสีแดงจะทำให้มีโอกาสเปิดเผยความรู้สึก  อารมณ์  สัญชาตญาณหยั่งรู้ออกมาโดยไม่ต้องมีคำอธิบายหรือหาเหตุผลใด ๆ  สัญชาตญาณอาจจะอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่ผ่านมา  เจตนารมณ์ของหมวกแดงคือ  การแสดงความรู้สึกอย่างที่เป็นอยู่ออกมา  ไม่ใช่การบีบบังคับให้ตัดสินใจ  อารมณ์ทำให้ความคิดยุ่งเหยิง   หมวกสีแดงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการช่วยให้อารมณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล  ยอมรับได้   สิ่งที่ยากที่สุดในการสวมหมวกสีแดงคือ  การฝึกความรู้สึกที่ยากจะหาเหตุผลให้กับอารมณ์ที่แสดงออกมา  ซึ่งการหาเหตุผลนั้นอาจถูกหรือผิดก็ได้
 สรุปหมวกคิดสีดำ
                หมวกคิดสีดำ  คือหมวกแห่งการระแวดระวังภัย  ในการพิจารณาข้อคิดเห็น  ข้อเสนอแนะหรือเรื่องอะไรก็ตาม  เมื่อถึงจุดหนึ่ง  เราก็ต้องนึกถึงความเสี่ยง  อันตราย  อุปสรรค  ข้อด้อยหรือปัญหาที่อาจจะเกิด  หมวกสีดำชี้ให้เห็นชี้ให้เห็นสิ่งที่เราควรใส่ใจและไตร่ตรองเพราะมันเป็นจุดอ่อนหรือเป็นอันตราย  เราอาจใช้หมวกสีดำเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน    เราควรเดินหน้าไปกับข้อเสนอนี้ไหม  หรืออาจใช้หมวกสีดำในขั้นตอนการระดมสมองและก่อร่างสร้างแนวคิด  มีจุดอ่อนอะไรบ้างที่เราควรหาทางป้องกันและแก้ไข  หมวกสีดำจะช่วยแจกแจงให้เราเห็นภาพความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดข้น  หมวกสีดำจะมองหาความสอดคล้อง  กับประสบการณ์ที่ผ่านมาหรือไม่  สอดคล้องกับนโยบายและวิธีการกับจริยธรรมค่านิยม  ทรัพยากร  และสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและประสบการณ์ของผู้อื่นหรือไม่
สรุปหมวกคิดสีเหลือง
                การคิดแบบหมวกสีเหลืองเป็นการคิดในแง่ดีและในเชิงสร้างสรรค์  และเป็นการคิดประเมินค่าในทางบวก  รวมไปถึงความฝันและวิสัยทัศน์  การคิดแบบหมวกเหลืองเป็นการสำรวจหาคุณค่าและประโยชน์แล้วจึงพยามยามจะหาเหตุผลสนับสนุนคุณค่าและผลประโยชน์นั้นๆ   จากความคิดจากหมวกเหลือง  เราจะได้ข้อเสนอและข้อแนะนำที่เป็นรูปธรรม  การคิดแบบหมวกสีเหลืองเกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น    อาจเป็นการคาดการณ์และการมองหาโอกาส  และจะก่อให้เกิดวิสัยทัศน์  จินตนาการและความฝัน
สรุปหมวกคิดสีเขียว
                หมวกสีเขียวเป็นหมวกแห่งพลังงาน  หมวกแห่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  หมวกสีเขียวจะผลักดันความคิดใหม่ๆออกมาและยังคิดถึงทางเลือกใหม่หรือสิ่งใหม่ที่ทดแทนของเก่าได้   รวมถึงทางเลือกที่ชัดเจนและใหม่สดจริงๆ  เมื่อเราสวมหมวกเขียวเราหาวิธีปรับเปลี่ยนและปรับปรุงความคิดใหม่ที่เสนอมา  การค้นหาทางเลือกเป็นพื้นฐานของหมวกคิดสีเขียว  เราจะต้องไปให้ไกลกว่าความคิดเห็นที่รู้กันแล้วหรือเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว  ความคิดอาจหยุดเพื่อคิดสร้างสรรค์เพื่อพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นๆอีกหรือไม่  โดยไม่ต้องมีเหตุผลว่าทำไมจึงต้องหยุด  เราใช้การเลื่อนไหวความคิดเข้ามาแทนที่การตัดสินพิจารณาความคิด   การคิดเคลื่อนไหวไปข้างหน้า  เพื่อไปให้ถึงความคิดใหม่  ความคิดเชิงยั่วยุใช้เพื่อกระตุกเราให้หลุดจากแบบแผนความคิดแบบเดิม  หรือการคิดนอกกรอบ
สรุปหมวกคิดสีฟ้า
                หมวกคิดสีฟ้าจะกำหนดประเด็นที่เราจะต้องคิด  กำหนดความสนใจ  อะไรคือปัญหาอะไรคือคำตอบ  หมวกสีฟ้าจะกำหนดงานที่จะกำหนดงานคิดที่จะต้องทำ  ตั้งแต้ต้นจนจบและมีหน้าที่สรุป   วิเคราะห์สถานการณ์  และลงมติต่าง ๆ  หมวกคิดสีฟ้าต้องติดตามตรวจสอบการคิดเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกติกาการคิด  หมวกคิดสีฟ้าจะหยุดยั้งการโต้แย้งถกเถียง  และยืนกรานตามแผนที่ความคิด  จะคอยดูให้กระบวนการคิดเป็นไปตามกฎเกณฑ์
โดยการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานนั้นเป็น
            การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้การให้นักเรียนผู้ทำโครงงานได้เสนอผลงาน เป็นการเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมนี้จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก เชื่อมั่นในผลงาน ตอบข้อซักถามของผู้สนใจได้  จากปีการศึกษา  2548-2550  ที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของสาธารณะชนว่า กิจกรรมการสอนแบบโครงงานเป็นที่น่าภาคภูมิใจโดยเฉพาะนักเรียนได้รับเกียรติบัตรรางวัลในระดับการประกวดโครงงานต่าง ๆ มากมาย เช่น
-          โครงงานน้ำส้มควันไม้สมุนไพรกำจัดปลวก
-          โครงงานผ้าสวยด้วยสมุนไพร
-          โครงงานกังหัน พี วี ซี
-          โครงงานหอยเชอรี่เพิ่มประสิทธิภาพไก่ไข่  ฯลฯ
ซึ่งโครงงานเหล่านี้นักเรียนได้รับเกียรติบัตรจากการประกวดในระดับเครือข่าย  ระดับเขต  ระดับจังหวัด สร้างความภูมิใจให้นักเรียนและครูผู้เป็นที่ปรึกษา  นับว่าเป็นกิจกรรมที่ประสบผลสำเร็จที่เกิดจากผลผลิตของการจัดกิจกรรมการเรียนแบบโครงงานทั้งสิ้น
โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนแบบ หมวก 6 ใบ หรือแบบโครงงานล้วนก็มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างแต่ก็มีความสำคัญทั้ง 2 อย่าง โดยเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตัวเราได้เมือเราออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

กิจกรรมที่ 13


1.ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
> ไม่เหมาะสม เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กไทยเรามักจะมีปัญหาโภชนาการ (อาหาร) แบบไม่สมดุล คือ บางอย่างมากไป บางอย่างน้อยไปอาหารกลุ่มที่ "มากไป"  มักจะเป็นกลุ่มให้กำลังงาน (คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง-น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน) อาหารกลุ่มที่ "น้อยไป" มักจะเป็นกลุ่มผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) และแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียม กรมอนามัยจัดทำคำแนะนำง่ายๆ สำหรับเด็กไทย โดยการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ง่ายๆ อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลย ผู้ใหญ่ที่ออกแรง-ออกกำลังมากหน่อยก็นำคำแนะนำนี้ไปใช้ได้ แต่ถ้าออกแรง-ออกกำลังน้อย... ควรกินอาหารกลุ่ม "ข้าว-แป้ง" ให้น้อยลงหน่อย
และที่สำคัญก็คือเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเช้าทั้งที่อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดเมื้อหนึ่งโดยอาหารเช้าเป็นการ เติมพลังงานแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ทำให้ไม่มีพลังงานไปเลี้ยงสมอง การละเลยอาหารเช้าจะทำให้หงุดหงิดอารมณ์เสีย เครียด อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กไม่ควรละเลยอาหารเช้า เพราะจะทำให้มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ โดยอาหารเช้าที่เหมาะสมควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน

2) ในปัจจุบันเด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่ามีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก    กำลังกายไหม)
> น้อยมาก ในปัจจุบันนั้นการออกกำลังกายของเด็กไทยนั้นค่อนข้างจะน้อย มีบางส่วนที่ได้ออกกำลังกายบ้างในตอนเย็น  เช่น การแตะฟุตบอลกับเพื่อนๆ เล่นแบดบินตัน นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น แต่ปัจจัยหลักก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
1.  มีสนามรองรับไม่เพียงพอต่อการออกกำลังกาย
2. เด็กบางคนมุ่งแต่เรียนไม่คิดที่จะออกกำลังกาย
3. รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
3. เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด ( ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ) 
เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว  การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ  นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
การที่โรงเรียนให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กพอๆกับการส่งเสริมด้านวิชาการนั้นก็เพื่อมุ่งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และมีการฝึกปฏิบัติที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการมีสุขภาพดี  โดยสอดแทรกไว้ทั้งในหลักสูตรการศึกษาและผ่านทางกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
        สองสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนครูอาจทำความรู้จักกับเด็กได้มากพอสมควร อาจจะพอจำแนกออกมาได้ว่าเด็กคนนั้นๆ  เป็นเด็กที่ควรจัดอยู่ในกลุ่มใด  โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของเด็กจากการตั้งใจเรียน หรือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนของเด็กว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร  จึงสามารถที่จะจำแนกออกมาได้ว่าเด็กคนนั้นๆควรจัดอยู่ในกลุ่มใด
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) 
        ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูประจำชั้นเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง หรือบุคลากรภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน  เช่น  กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อเป็นการเข้าไปพบปะพูดคุย สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนและสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆเท่าที่ทางโรงเรียนจะสามารถช่วยเหลือได้  เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล  เพื่อทราบเกี่ยวกับสภาพปัญหาของตัวนักเรียน และจะได้นำข้อมูลในกรณีที่นักเรียนเกิดปัญหามาวิเคราะห์และหาแนวทางช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาต่อไป
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
ทางโรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต  โดยจะสอดแทรกเอาไว้ในกิจกรรมของวิชานั้นๆ  ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
จะมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ  เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็ก  และนำมาประเมินว่าโรงเรียนมีมาตรฐานด้านนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
มี  เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตเป็นเช่นไร  จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ  สนับสนุน  หรือหาทางแก้ไขได้ต่อไป

การสอบปลายภาค

1. Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้สอน  และครูก็จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   จะต้องมีความเมตตาและเป็นมิตรกับนักเรียน และที่สำคัญ ครูจะต้องเข้ากับเด็กได้ทุกคนและรู้รายละเอียดที่สำคัญในตัวนักเรียนด้วย  นอกจากนั้นการจัดการในชั้นเรียนครูควรให้ความสนใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียบกัน  รู้ว่าเด็กท่เราสอนอยู่ในวัยและชอบอะไร  เพื่อที่จะได้จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตัวผู้เรียน
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานความรู้ หมายถึง       ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ         ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
     -  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
     -  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
     -  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
     -  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
     -  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
     -  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
     -  รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     -  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
     -  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     -  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตราฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง    ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
3. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน 
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน   ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
 1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค 
 5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนต้องประกอบด้วย
         มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่าง
1.1 มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
2.1 รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
3.1 มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
3.2 เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.3 ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
3.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.5 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม
4.2 สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
4.3 ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
5.1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.2 มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.3 สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
6.1 มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
6.2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
7.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
7.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
7.4 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
7.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
8.1 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
8.3 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
           การพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
           โดยทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในรูปแบบของวิถีชีวิตไทย การออมทรัพย์วันละบาท และธนาคารแห่งคุณธรรม 
            การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
                   1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
                   2. ครูอาจารย์ ชมว่านักเรียนเป็นคนซื่อสัตย์ ทำผิดแล้วยอมรับผิด
                   3. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
                   4. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
                   5. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นกัลยาณมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
            ทางโรงเรียนต้องจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเพื่อนรักรักเพื่อน" มุ่งเน้นให้นักเรียนกระทำตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ จึงเป็นเพื่อนที่รักของนักเรียนคนอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะเลือกคบเพื่อนรักที่เป็นคนดีและสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่รักของทุกคน ในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการคือ
                   1. กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
                   2. กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
                   3. กิจกรรมธนาคารแห่งคุณธรรม กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
             เป็นการปฏิบัติตนของนักเรียน เริ่มตั้งแต่นักเรียนมาถึงโรงเรียนในตอนเช้าบริเวณประตูโรงเรียน บริเวณโรงอาหาร ในห้องเรียน ก่อนเข้าแถว การเล่นนอกห้องเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติ โฮมรูม การเข้าแถวไปเรียนวิชาพิเศษ มารยาทในห้องเรียน การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การรับประทานอาหารกลางวัน การทิ้งขยะ การรอผู้ปกครอง การกลับรถรับ - ส่ง
กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
                   นักเรียนในแต่ละห้องฝากเงินออมทรัพย์ประจำวัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของห้อง และเมื่อสิ้นปีการศึกษา ประมาณต้นเดือนมีนาคมอาจารย์ที่ปรึกษา เบิกเงินจากธนาคารจ่ายคืนให้คณะกรรมการ นักเรียนที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อจ่ายคืนแก่ผู้ฝากแต่ละห้อง ตามจำนวนเงินในหลักฐานสมุดบัญชีของห้อง